เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
ธรรม 7 อย่างที่ควรเจริญ คือ โพชฌงค์ 7
ธรรม 8 อย่างที่ควรเจริญ คือ อริยมรรคมีองค์ 8
ธรรม 9 อย่างที่ควรเจริญ คือ ปาริสุทธิปธานิยังคะ 91
ธรรม 10 อย่างที่ควรเจริญ คือ กสิณ 10
[26] ภาวนา 2 อย่าง คือ
1. โลกิยภาวนา
2. โลกุตตรภาวนา
ภาวนา 3 อย่าง คือ
1. การเจริญธรรมที่เป็นรูปาวจรกุศล
2. การเจริญธรรมที่เป็นอรูปาวจรกุศล
3. การเจริญธรรมที่เป็นโลกุตตรกุศล
การเจริญธรรมที่เป็นรูปาวจรกุศลอย่างหยาบก็มี ปานกลางก็มี ประณีตก็มี
การเจริญธรรมที่เป็นอรูปาวจรกุศลอย่างหยาบก็มี ปานกลางก็มี ประณีตก็มี
การเจริญธรรมที่เป็นโลกุตตรกุศลประณีตอย่างเดียว
[27] ภาวนา 4 อย่าง คือ
1. เมื่อรู้แจ้งทุกขสัจด้วยการกำหนดรู้ ชื่อว่าเจริญ
2. เมื่อรู้แจ้งสมุทยสัจด้วยการละ ชื่อว่าเจริญ
3. เมื่อรู้แจ้งนิโรธสัจด้วยการทำให้แจ้ง ชื่อว่าเจริญ
4. เมื่อรู้แจ้งมัคคสัจด้วยการเจริญ ชื่อว่าเจริญ
เหล่านี้ ชื่อว่าภาวนา 4

เชิงอรรถ :
1 ปาริสุทธิปธานิยังคะ 9 ได้แก่ (1) สีลวิสุทธิ (2) จิตตวิสุทธิ (3) ทิฏฐิวิสุทธิ (4) กังขาวิตรณวิสุทธิ
(5) มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ (6) ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (7) ญาณทัสสนวิสุทธิ (8) ปัญญาวิสุทธิ
(9) วิมุตติวิสุทธิ (ขุ.ป.อ. 1/25/138)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :36 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
ภาวนาแม้อีก 4 อย่าง คือ
1. เอสนาภาวนา
2. ปฏิลาภภาวนา
3. เอกรสาภาวนา
4. อาเสวนาภาวนา
เอสนาภาวนา เป็นอย่างไร
คือ เมื่อพระโยคาวจรทั้งปวงเข้าสมาธิอยู่ ธรรมทั้งหลายที่เกิดในส่วนเบื้องต้น
นั้นมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เพราะฉะนั้น ภาวนานี้จึงชื่อว่าเอสนาภาวนา
ปฏิลาภภาวนา เป็นอย่างไร
คือ เมื่อพระโยคาวจรทั้งปวงเข้าสมาธิแล้ว ธรรมทั้งหลายที่เกิดในอัปปนานั้น
ไม่ล่วงเลยกันและกัน เพราะฉะนั้น ภาวนานี้จึงชื่อว่าปฏิลาภภาวนา
เอกรสาภาวนา เป็นอย่างไร
คือ เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ อินทรีย์อีก 4
อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ อินทรีย์อีก
4 อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น อินทรีย์อีก 4 อย่างก็มี
รสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมี
ความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน อินทรีย์อีก 4
อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :37 }